วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันสำคัญ : วันสำคัญทางพระพุทธศ�

วันสำคัญ : วันสำคัญทางพระพุทธศ�

วันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา


คลิ๊กดูรายละเอียด วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา : โ อ ว า ท ป า ฏิ โ ม ก ข์

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

>> อ่านต่อ


คลิ๊กดูรายละเอียด วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา : ประสูติ - ตรัสรู้ - ปรินิพพาน

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
>> อ่านต่อ



คลิ๊กดูรายละเอียด วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา : วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖)

ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับ
วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา" >> อ่านต่อ



คลิ๊กดูรายละเอียด วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา : พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะเป็นครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร" ซึ่งได้แก่อริยสัจ 4 ซึ่งหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โกญฑัญญะ ก็สำเร็จพระโสดา รู้ตามกระแสพระธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่า วันนี้ เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบเป็นองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นับเป็นวันแรกที่ พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
>> อ่านต่อ



คลิ๊กดูรายละเอียด วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 เดือน ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย
>> อ่านต่อ


คลิ๊กดูรายละเอียด วันออกพรรษา

วันออกพรรษา

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังจากวันออกพรรษาแล้วมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมทำกันมากคือ การทอดกฐิน
>> อ่านต่อ



คลิ๊กดูรายละเอียด วันโกน-วันพระ

วันโกน - วันพระ

วันโกน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำ กับ ๑๔ ค่ำ และแรม ๗ ค่ำ กับแรม ๑๔ ค่ำ ของทุก เดือน ( หรือ แรม ๑๓ ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด ) ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ ๑ วัน นั่นเอง

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ กับแรม ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน(หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม ๑๔ ค่ำ ) >> อ่านต่อ


ข้อมูลทั้งหมดนี้มาจาก www.dhammathai.org


พุทธสุภาษิต - พุทธศาสนสุภาษิต


พุทธสุภาษิต - พุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต
แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

วิธีการอ่านภาษาบาลี คลิกที่นี่

ดาวน์โหลดไฟล์พุทธสุภาษิตรวม 1,517 สุภาษิต คลิ๊กที่นี่ (จัดทำโดย kusol.com)

ดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า คลิ๊กที่นี่

พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา

  • ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
    พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
  • ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
    พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
  • สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
    ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
  • กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
    พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
  • สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
    พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
  • ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
    พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล

พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก

  • กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
    ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
  • กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
    ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
  • กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
    การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
  • กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
    ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
  • ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
    การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก

    พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง

  • น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
    กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
  • น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
    คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
  • สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
    สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
  • อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
    ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
  • อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
    ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
  • น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
    ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
  • ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
  • ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
    ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
  • ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
    เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
  • น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
    เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
  • น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
    ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
  • สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
    สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
  • ขโณ โว มา อุปจฺจคา
    ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
  • อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
    วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
  • กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
    กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง

พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ

  • โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
    ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
  • โกโธ สตฺถมลํ โลเก
    ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
  • โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
    ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข

พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์

  • ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
    ความจนเป็นทุกข์ในโลก
  • อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
    การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
  • ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
    เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
  • สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
    สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย

  • อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
    เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
  • สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
    ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
  • ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
    มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว
  • นตฺถิ พาเล สหายตา
    ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล
  • ภริยา ปรมา สขา
    ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง

พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน

  • อสชฺฌายมลา มนฺตา
    มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
  • อนุฏฺฐานมลา ฆรา
    เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน
  • มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
    ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
  • มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
    ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง

พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์

  • สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
    ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว
  • นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
    ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
  • สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
    พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ

พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ

  • สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
    ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
  • ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
    ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
  • น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
    ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี
  • อสาธุง สาธุนา ชิเน
    พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน
  • ชิเน กทริยํ ทาเนน
    พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
  • สจฺเจนาลิกวาทินํ
    พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น

  • อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
    ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
  • มนาปทายี ลภเต มนาปํ
    ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
  • เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
    ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
  • ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
    บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
  • ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
    คนควรให้ทาน
  • ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
    พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่

พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน

  • ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
    เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ
  • อนุฏฺฐานมลา ฆรา
    เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ
  • โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
    โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ

พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา

  • ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
    ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
  • ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
    ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
  • ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
    ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
  • ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
    ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
  • ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
    ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
  • สมฺภตํ อนุรกฺขติ
    ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
  • สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
    ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
  • สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
    บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ

พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา

  • หทยสฺส สทิสี วาจา
    วาจาเช่นเดียวกับใจ
  • สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
    ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
  • ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
    คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
  • มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
    คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
  • อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
    คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
  • สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
    ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
  • ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
  • น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
    ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
  • สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
  • วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม
  • โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
    เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
  • มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
  • นามนุญฺญํ กุทาจนํ
    ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
  • วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
    ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล

พุทธศาสนสุภาษิต : ความกตัญญูและพรหมวิหาร

  • หิริโอตฺตปฺ ปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
    หิริและโอตตับปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
  • โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
    เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
  • อรติ โลกนาสิกา
    ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
  • มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห
    อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ
  • นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
    ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
  • สพฺพญฺเจ ปฐวิง ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย
    ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมดก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้

พุทธศาสนสุภาษิต : คนชั่วกับลาภสักการะ

  • หนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
    โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
  • สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
    สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย

พุทธศาสนสุภาษิต : การงาน

  • อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺติง
    คนไม่เกียจคร้าน พึงได้รับความสงบใจ
  • สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
    ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
  • อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
    ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน
  • นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
    ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก